Copyright 2015

 
 

 
 
New Page 1
   ทำเนียบวัตถุมงคลทั้งหมด
   วัตถุมงคลมาใหม่ 
   (ของเก่า ของสะสม) 
   วัตถุมงคลมาใหม่
   (ของใหม่) 
** แนะนำวัตถุมงคล ** 

หมวดครูกายแก้ว

   องค์บูชา
   วัตถุมงคล
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย อ.สุชาติ รัตนสุข

   เทพเทวะ (องค์บูชา)
   เทพเทวะ (วัตถุมงคล)
   ฤาษี  มหาฤาษี
   เครื่องราง ของขลัง
   เครื่องประดับ
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย เกจิอาจารย์ชื่อดัง

   พระกริ่ง
   พระกรุ
   ผ้ายันต์
   108 เกจิอาจารย์ดัง ยุคอินโดจีน
   พระแชมป์
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดยเทวสถานอื่นๆ

   อื่นๆ
[เว็บอัพเดทเมื่อ: 31/12/2567]
 
Flag Counter
 
 

 

สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์เทพวราราม

  เมื่อ:  11/3/2015 6:41:38 PM    เปิดอ่าน: 1,357   
 
 
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
 

 

พระสังฆราชองค์ที่ 12 พ.ศ. 2481-2487 สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวราราม พระนามเดิมว่า แพ พระฉายานาม ติสสเทว ประสูติในรัชกาลที่ 4 วันพุธ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 บิดาชื่อ นุตร์ มารดาชื่อ อ้น เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกันรวม 7 คน คือ 1. นางคล้าม 2. สมเด็จพระสังฆราช (แพ) 3. หลวงพุทธพันธพิทักษ์ (อยู่) 4. นางทองคำ พงษ์ปาละ 5. นางทองสุข 6. นายชื่น 7. นายใหญ่

 

เมื่อพระชนมายุได้ 7 ขวบ ได้ไปศึกษาอักขระสมัยอยู่ที่วัดทองนพคุณ เนื่องจากท่านบิดาเลื่อมใสในสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) มาตั้งแต่ท่านยังครองวัดนพคุณ ครั้นชนมายุได้ 13 ปี จึงพาไปถวายเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) เมื่อครั้งยังเป็นพระธรรมวโรดม มาอยู่วัดราชบูรณะ ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2411 แล้วกลับไปเล่าเรียนอยู่วัดทองนพคุณตามเดิม ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 เมื่อชนมายุได้ 16 ปี สมเด็จวันรัต (สมบูรณ์) ให้ไปรับมาอยู่กับท่านที่ วัดพระเชตุพน เพราะสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ได้มาอยู่ในวัดนั้น ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) เป็นพื้น

นอกจากนั้นได้เล่าเรียนกับเสมียนตาสุขบ้าง พระโหราธิบดี (ชุ่ม) บัาง พระอาจารย์โพบ้าง ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรกที่พระที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 2419 แต่แปลตกหาได้เป็นเปรียญในปีนั้นไม่ และในปี พ.ศ. 2419 นั้นเอง อายุครบอุปสมบท แต่สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) อาพาธ ต้องอยู่ประจำเพื่อพยาบาล จึงมิได้มีโอกาสอุปสมบท และเมื่อสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) ใกล้ถึงมรณภาพนั้น ท่านแนะนำให้ไปอยู่เป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ แต่ครั้งยังเป็นพระเทพกวี ครั้นสมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) มรณภาพแล้ว จึงได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง) แล้วอุปสมบทที่วัดเศวตรฉัตรอันอยู่ใกล้เป็นบ้านและสำนักเรียนเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2422 แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์กับสมเด็จพระวันรัต (แดง) ต่อมา ในตอนนี้ได้เล่าเรียนกับสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นพื้นและได้ไปเรียนกับสมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์บ้าง

 

เมื่อสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อครั้งยังเป็นพระเทพกวี ได้เลื่อนเป็น พระธรรมวโรดม ได้ตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฎีกา ใน ฐานานุกรมตำแหน่งนั้น แล้วเลื่อนเป็นพระครูวินัยธรโดยลำดับ เมื่อเป็นพระครูวินัยธรได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 2 ที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. 2425 ได้เป็นเปรียญ 4 ประโยค ต่อมาปี พ.ศ. 2428 เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกเป็นครั้งที่ 3 ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลได้อีกประโยค 1 รวมเป็น 5 ประโยค

 

ปี พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีสมโพธิ์ ถึงปี พ.ศ. 2439 อันเป็นวันในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครบหมื่นวันแห่งการเสวยราชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พระราชทานตาลิปัตรแฉกประดับพลอย และเพิ่มนิตยภัต ในคราวเดียวกันกับที่ได้โปรดให้ พระธรรมวโรดม (แสง) วัดราชบูรณะ เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ถึงปีจอ พ.ศ. 2441 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพโมลี สถิต ณ วัสดุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร มีนิตยภัตเดือน 4 ตำลึงกึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2443 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเทพโมลีเป็นพระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณนายกตรีปิฏกมุนี มหาคณาธิบดีสมณิศร บวรสังฆราม คามวาสี สถิต ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง

 

ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระราชทานหิรัญบัฎ ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระพรหมมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2455 ต่อมาถึงปีกุน พุทธศักราช 2466 ได้รับพระราชทานสุพรรณบัฏเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน ครั้นถึง พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ได้ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต หลังจากที่ได้รับพระสุพรรณบัฏเป็นสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่หนใต้ แต่ พ.ศ. 2472 มา ได้ปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญเรียบร้อยก้าวหน้ามาโดยลำดับ มิได้ระส่ำระส่าย เป็นไปในทางวิวัฒนาการ ผู้อยู่ในบังคับบัญชาก็ได้รับความสุขสำราญชื่นชมยินดี ความติดขัดแม้จะมีก็ระงับได้ด้วยความสุขุมปรีชา เป็นที่พำนักปรึกษาของเจ้าคณะซึ่งมีข้อความข้องใจในการบริหาร ชี้แจงนโยบายการบริบาลคณะสงฆ์ โดยสันติวิธีเป็นที่นิยมยินดีของพุทธบริษัททั่วไป

 

การปกครองคณะสงฆ์ร่วมในจังหวัดพระนครนั้นเล่าตั้งแต่แรกเริ่มจัดระเบียบเข้าสู่ระบอบใหม่ในทำนองการคณะแขวง สมเด็จก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงดำรงตำแหน่งแต่เดิมมา ครั้งก่อนเรียกว่าแขวงสำเพ็ง ครั้งยุคต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นแขวงคณะนอก จังหวัดพระนคร ในคราวที่ฝ่ายอาณาจักรโอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นจังหวัดพระนครพอดี ในคราวที่ฝ่ายอาณาจักรยุบฐานะจังหวัดมีนบุรี อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนั้น คืออำเภอมีนบุรี อำเภอบางกะปิ อำเภอลาดกระบัง อำเภอหนองจอก ก็โอนมาขึ้นในจังหวัดพระนคร การคณะสงฆ์ในอำเภอนั้น ๆ ทั้งหมดก็โอนมาขึ้นกับคณะแขวงนอก จังหวัดพระนคร ต้องเพิ่มภาระในการปกครองขึ้นอีกมาก กระนั้นก็สู้บั่นบากควบคุมการคณะให้เรียบร้อยเจริญดีเป็นลำดับมา

 

ในด้านการศึกษา ก็ได้แนะนำปลูกภิกษุสามเณรให้เกิดแนะนำให้เกิดอุตสาหะในการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาแพร่หลายดี จึงได้ขอให้ทางการเปิดสถานที่ทำการสอบความรู้ นักธรรมขึ้นเป็นประจำ ในอำเภอนั้น ๆ จนเป็นปึกแผ่นถาวรมาจนถึงยุคนี้ ถึง พ.ศ. 2479 เมื่อตำแหน่งปลัดแขวงในพระนครว่างลง สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์วัดราชบพิธ จึงได้มีพระบัญชาให้ย้ายท่านเข้ามาเป็นปลัดแขวงในพระนคร และท่านก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้เรียบร้อยตลอดมา ในส่วนพระปริยัติธรรมท่านได้รับหน้าที่เป็นแม่กองสนามหลวงฝ่ายบาลีทำการสอบความรู้พระปริยัติธรรมพระภิกษุสมเณรในพระราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2471 – 2474 รวม 4 ศก การ

 

ในส่วนมหาเถรสมาคมนั้น ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการด้วยรูปหนึ่งตั้งแต่เดิมมา ได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ในฐานแห่งกรรมการเป็นอันดีเสมอต้นเสมอปลาย มิได้บกพร่องอุดมคติเป็นไปในทำนองเยภุยยสิกาวาท มุ่งหมายเป็นสำคัญก็คือ ถือมติส่วนรวมโดยสมานฉันท์มีใจมั่นอยู่ด้วยสามัคคี เพราะยึดอุดมคติเช่นนี้จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพในมหาเถรสมาคม กอปรทั้งที่ท่านสมบูรณ์ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิเป็นที่สุด ในมหาเถรสมาคม จึงเป็นที่นิยมนับถือในฐานะเป็นประมุขสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และในคณะมหานิกายนั้น เมื่อเกิดมีอุปสรรคอันใดเข้ามาขัดขวาง ก็ได้อาศัยท่านเป็นหลักที่ปรึกษาหาทางที่จะหลีกลัดเข้าสู่สันติวิธีมิได้ท้อถอยและเห็นแก่ความเหนื่อยยาก ทั้ง ๆ ที่ทรงพระชราภาพมากแล้ว หากจะปลีกพระองค์ออกใฝ่สุขแห่งความสงบเฉพาะพระองค์แล้ว ก็จะเป็นเอกีภาวสุขได้อย่างสมบูรณ์แห่งจิตใจและสังขาร แต่พระองค์หาได้คิดเช่นนั้น ได้ทรงเห็นแก่พระศาสนาและความร่มเย็นของผู้ปฏิบัติธรรมอันยึดพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นสรณะ และเพื่อยืนยาวมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาอันเป็นหลักของประชาชนชาวไทยทั้งมวล มิได้ทรงถือความชราภาพมาเป็นสิ่งกีดขวางการพระศาสนา ปฏิปทา และคุณูปการของท่านเพียบพร้อมด้วยศาสนกิจดังกล่าวมาแล้ว จึงเป็นมูลัฏฐาปนีย์ที่เด่นเป็นมิ่งขวัญของคณะสงฆ์ทั่วไป

 

ครั้นถึง พ.ศ.2481 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 7 เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธสิ้นพระชนม์ลง ประจวบกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากยุโรปเข้ามาเยี่ยมพระนคร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระราชทานตาลิปัตรแฉกประจำตำแหน่งในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกต่อประมุขสงฆ์ มีองค์พระสังฆราชเป็นประธานครั้นถึงสมัยมงคลกาลเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2482 จึงเป็นพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย

 

มูลเหตุที่ทรงสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์

 

ทรงเล่าว่า เมื่อพระองค์ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสมโพธิ์ครั้งนั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) สมเด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ และครั้งหนึ่งสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อาพาธเป็นอหิวาตกโรค สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งยังทรงเป็นกรมหมื่นเสด็จมาเยี่ยม เมื่อรับสั่งถามถึงอาการของโรคเป็นที่เข้าพระทัยแล้ว รับสั่งว่า เคยเห็นกรมพระยาปวเรศฯ เสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วให้คนไข้เป็นอหิวาตกโรคกินหายเป็นปกติ พระองค์จึงรับสั่งให้มหาดเล็กที่ตามเสด็จไปนำพระกริ่งที่วัดบวรนิเวศ แต่สมเด็จฯ ทูลว่าพระกริ่งที่กุฎิมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้าจึงรับสั่งให้นำมาแล้วอาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐาน ขอน้ำพระพุทธมนต์แล้วนำไปถวายสมเด็จพระวันรัต (แดง) เมื่อท่านฉันน้ำพระพุทธมนต์แล้วโรคอหิวาต์ก็บรรเทาหายเป็นปกติ ข้าพเจ้าทูลถามว่า พระกริ่งที่อาราธนาขอน้ำพระพุทธมนต์นั้นเป็นพระกริ่งสมัยไหน พระองค์ท่านรับสั่งว่าจำไม่ได้ เข้าใจว่าเป็นพระกิ่งเก่าหรือไม่ก็คงเป็นพระกริ่งของสมเด็จกรมระยาปวเรศฯ องค์ใดองค์หนึ่ง ตั่งแต่นั้นมา พระองค์ก็เริ่มสนพระทัยในการสร้างพระกริ่งขึ้นเป็นลำดับ ค้นหาประวัติการสร้างพระกริ่งและก็ได้เค้าว่า การสร้างพระกริ่งนี้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว เริ่มที่ประเทศทิเบตก่อน ต่อมาก็ประเทศจีนและประเทศเขมรเป็นลำดับ

 
ที่มา:  ผู้จัดทำข้อมูล รสสุคนธ์ ไตรรงค์ (www.dharma-gateway.com)
 
สมเด็จพระสังฆราช แพ  วัดสุทัศน์  วัดสุทัศน์เทพวราราม 
 
หลวงปู่แฉ่ง วัดบางพัง
เมื่อ:  1/1/2017 12:36:00 AM    เปิดอ่าน: 1,097    ความเห็น: 0
 
 
หลวงปู่เทียม วัดกษิตราธิราช
เมื่อ:  1/1/2016 12:33:00 AM    เปิดอ่าน: 844    ความเห็น: 0
 

 
 
 
Copyright 2015
 
 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ทำเนียบวัตถุมงคล|คณะโหราจารย์ | คณะที่ปรึกษา | ดูดวงสด | คลิปรายการ | เรื่องเล่าจาก อ.สุชาติ | บทความทั่วไป | ติดต่อเรา

เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558

 เว็บนี้จัดทำโดยทีมงานครูกายแก้ว.com  (โดยได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก อ. สุชาติ รัตนสุข)