Copyright 2015

 
 

 
 
New Page 1
   ทำเนียบวัตถุมงคลทั้งหมด
   วัตถุมงคลมาใหม่ 
   (ของเก่า ของสะสม) 
   วัตถุมงคลมาใหม่
   (ของใหม่) 
** แนะนำวัตถุมงคล ** 

หมวดครูกายแก้ว

   องค์บูชา
   วัตถุมงคล
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย อ.สุชาติ รัตนสุข

   เทพเทวะ (องค์บูชา)
   เทพเทวะ (วัตถุมงคล)
   ฤาษี  มหาฤาษี
   เครื่องราง ของขลัง
   เครื่องประดับ
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย เกจิอาจารย์ชื่อดัง

   พระกริ่ง
   พระกรุ
   ผ้ายันต์
   108 เกจิอาจารย์ดัง ยุคอินโดจีน
   พระแชมป์
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดยเทวสถานอื่นๆ

   อื่นๆ
[เว็บอัพเดทเมื่อ: 4/8/2563]
 
Flag Counter
 
<< ย้อนกลับ
พระกริ่ง ท่านเจ้ามา *** พระประกวด ระดับแชมป์
 
รหัสวัตถุมงคล:  S31002 
 

เรื่องราวพระเกจิอาจารย์ยุคโบราณที่มีชื่อเสียงมาก เจ้าของ "ตำนานพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ พิมพ์ล้มลุก" แห่งวัดสามปลื้ม หรือวัดจักรวรรดิราชาวาสนั่น คือ พระพุฒาจารย์ (มา) วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ

"ท่านเจ้ามา" เป็นพระเกจิอาจารย์สมัยรัชกาลที่ 5 โดยท่านเกิดเมื่อปี 2380 (สมัยรัชกาลที่ 3) เป็นชาวสำเพ็ง ตอนเป็นวัยรุ่นท่านมีนิสัยเป็นนักเลงเหมือนเพื่อนๆ ในละแวกนี้ ต่อมาเมื่ออายุ 25 ปี ได้บวชที่วัดสามปลื้ม นิสัยนักเลงก็เลยหมดไป จึงมีความเจริญรุ่งเรืองในธรรมะ จนได้รับตำแหน่งหน้าที่การงานในคณะสงฆ์และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระ ราชาคณะสูงสุดที่ "พระพุฒาจารย์" ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2457 สิริอายุ 77 ปี

พระพุฒาจารย์ (มา) นับเป็นผู้ที่มีความชำนาญทั้งทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน และไสยเวทวิทยาคมเป็นอย่างสูง โดยหลังจากที่ท่านได้กลับจากการธุดงควัตร ท่านก็ได้รับการสืบทอดตำราการสร้างพระกริ่งชัยวัฒน์โบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยท่านได้รับตกทอดมาจาก สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส หลังจากนั้นท่านเจ้ามาได้เป็นผู้ก่อกำเนิดตำนานพระชัยวัฒน์อันยิ่งใหญ่ของเมืองไทย

โดย ท่านได้ดำริจะสร้างพระกริ่งตามตำรับเดิมที่ได้รับตกทอดมา เมื่อท่านมีอายุครบ 80 ปี แต่ท่านได้มรณภาพก่อนเมื่ออายุได้ 77 ปี ทำให้ตำรับดังกล่าวตกทอดไปอยู่กับศิษย์ของท่านคือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ และตำนานพระกริ่งอันยิ่งใหญ่ จึงได้ก่อกำเนิดที่วัดสุทัศน์แต่นั้นมา

ครั้งหนึ่งเกิดไฟไหม้พระ มณฑป อันเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเมืองสระบุรี สิ่งของมีค่าที่กษัตริย์โบราณหลายสมัยได้สร้างถวายไว้เป็นพุทธบูชาได้มอด ไหม้สูญสิ้นไปกับเพลิงในครั้งนั้น อาทิ เสื่อเงิน เสื่อทอง ม่านทอง ผ้าประดับเพชรพลอยต่างๆ เป็นต้น ท่านเจ้ามาได้เป็นผู้เก็บรวบรวมโลหะที่หลอมละลายรวมกันจนไม่สามารถแยกธาตุ ออกได้นั้น ท่านก็ได้รวบรวมนำมาเป็นส่วนผสมอันเป็นมงคลในการสร้างพระชัยวัฒน์ของท่านด้วย

การพิจารณาเนื้อโลหะพระชัยวัฒน์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์มา ได้สร้างไว้นั้น เป็นเนื้อที่เรียกว่า สำริดขันลงหินและสำริดกลับดำ จะพบเห็นกันเพียงสองเนื้อนี้เท่านั้น และสองเนื้อนี้ยังแยกออกไปได้ดังนี้
1.สำริดขันลงหินกระแสเหลือง
2.สำริดขันลงหินกระแสทองแดง (น้ำตาลแก่)
3.สำริดลงหินกระแสสีนาก
4.สำริดกลับดำ
ที่แยกกระแสดังกล่าวแล้วนั้นถือหลักพิจารณาตามสีผิวของพระที่ยังไม่ได้ใช้ หรือใช้ไปบ้างแล้วเนื้อในจะกลายเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเหมือนกันไป ยกเว้นสำริด กลับดำเท่านั้นที่คงดำและด้านขึ้นเมื่อถูกใช้ไปนานๆ ส่วนผสมสำริดของท่านเจ้ามานั้นถือตามแผ่นทอง คำบุมณฑปรอยพระพุทธบาท และอีกหลายอย่างเป็นการที่เรียกว่าดีในก่อนจึงปลุกเสกทับให้ดีนอกอีกครั้งหนึ่ง

ของเทียมทำเลียนแบบนั้นยังพอแยกออกด้วยพิมพ์ทรงและเนื้อ ด้วยพวกมือผีจะไม่คำนึงถึงเนื้อโลหะที่ประจำพิมพ์ ท่านเจ้ามาได้แฝงเคล็ดลับของท่านไว้ในพระแต่ละรุ่นเมื่อท่านใช้เนื้อไหนเป็น พิมพ์อะไรแล้วสร้างกี่หนก็เหมือนกันทุกครั้ง ไม่มีการสลับเนื้อเป็นอันขาด อาทิ พิมพ์ล้มลุกท่านจะใช้สำริดกลับดำด้านก็เป็นอย่างนั้นทุกองค์ แต่พวกมือผีไม่คำนึงก็เลยเอาเนื้อสีเหลืองคล้ำ หรือทองแดงเท คนที่เขาดูเป็นก็ร้องว่าเก๊ เพราะแค่เนื้อก็ผิด หรือว่าเจอพิมพ์ ร.ศ. 118 ผิดเนื้อไปดังนี้เป็นต้น เนื้อโลหะจึงเป็นเครื่องกำหนดพิมพ์ ของท่านเจ้ามาได้อีกอย่างหนึ่ง

"พระชัยวัฒน์" พระพุฒาจารย์ (มา) วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ ได้จำแนกแยกพิมพ์ไว้หลายพิมพ์ เช่น พระชัยวัฒน์ พิมพ์ล้มลุก นับเป็นพระพิมพ์ที่ได้มีการสร้างในยุคแรกๆ ของท่าน องค์พระมีขนาดล่ำสันกว่าพระชัยวัฒน์ในยุคหลังๆ ดังมีพระลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเพชรอยู่บนฐานบัวเล็บช้างชั้น เดียวทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่น่าสังเกต คือ แม้จะเป็นการเทหล่อก็ตามที แต่การประสานและไส้หุ่นก่อนเทนั้นประณีตมาก ไม่มีรอยตะเข็บหรือรอยตะไบแต่งแม้แต่น้อย (ของเทียมมีตะเข็บให้เห็นได้ง่าย) รายละเอียดของพุทธลักษณะ พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียดชัดเจน แต่ไม่เรียบร้อยนักคงมองเห็นริ้วพระขนง (คิ้ว) พระเนตร (ตา) โปน พระนาสิกสั้นและโปนรับกับพระเนตร พระโอษฐ์ (ปาก) แสดงอาการเผยอยิ้ม แต่ติดไม่ชัดเจนนัก

พอสังเกตเห็นได้เป็นส่วนใหญ่มีบางองค์เท่านั้นที่มองเห็นถนัด พระเศียร (ศีรษะ) เป็นขมวดพระเมาลีเห็นเป็นกระหย่อม มีเม็ดพระศกเป็นเม็ดๆ ชัดเจนในพิมพ์มิได้มาตอกตุ๊ดตู่ภายหลัง พระกรรณ (หู) ติดไม่ค่อยชัดนัก คงเห็นเป็นรูปพระกรรณแนบกับพระปรางค์ลงมาจรดบ่า พระพาหา (ไหล่) โค้งลาดอวบอ้วนรับกับพระเศียร พระกร (แขน) ทอดลงแนบพระวรกาย (ลำตัว) หักพระกโบร (ศอก) เข้ามาประสานที่ พระเพลา (ตัก) แสดงการซ้อนพระหัตถ์เป็นส่วนนูนยื่นออกมา พระชงฆ์ (ขา, แข้ง) งอพับสอดในลักษณะการขัดสมาธิเพชร ฝ่าพระบาท (ฝ่าเท้า) อยู่ในลักษณะแบหงายไม่มีรายละเอียดนิ้วพระบาทคงมองเห็นเป็นใบพายแบตลอดจาก ซอกพระกัจฉะ (รักแร้) ด้านซ้ายมาตลอดทางขวา

"พระชัยวัฒน์ พิมพ์แซยิด" ท่านเจ้ามา นับเป็นวัตถุมงคลที่พระพุฒาจารย์ (มา) ได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในวาระที่ท่านเจ้ามามีอายุครบ 60 ปี ใน พ.ศ.2440 มีด้วยกันสองพิมพ์ คือ พิมพ์สมาธิ และพิมพ์มารวิชัย พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดราบ บนฐานอาสนะบัวเกลี้ยง ฐานล่างบานกว้างออก หล่อแบบลอยองค์ก้นกลวง เป็นพระเนื้อโลหะผสมวรรณะน้ำตาลอมแดง ส่วนมากมักลงชาดปิดทอง ซึ่งทำให้แลดูสวยงามยิ่งขึ้น

"พระชัยวัฒน์ พิมพ์ ร.ศ. 118" พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดเพชร บนฐานอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย มีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีเลขที่ฐานว่า 118 เข้าใจว่าสร้างในปี พ.ศ.2442 เป็นพระเนื้อโลหะผสมวรรณะเหลืองอมแดง พระพิมพ์นี้จะไปคล้ายกับพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม ซึ่งท่านทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดทีเดียว

"พระชัยวัฒน์ พิมพ์เศียรทุย" พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดเพชร ประทับบนฐานเขียงรับกับส่วนพระองค์ พุทธศิลป์เป็นแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ด้านหลังพระเศียรนูนออกไปคล้ายกับศีรษะของคนที่มีศีรษะทุย จึงเป็นที่มาของการเรียกขานชื่อพิมพ์ว่า "พิมพ์เศียรทุย" เนื้อพระจะออกแบบเนื้อทองแดงเถื่อนอมดำ ที่พบเนื้อทองเหลืองก็มีแต่จะแก่ไปทางสำริดเช่นกัน แต่พระพิมพ์นี้ต้องดูให้ดี เพราะศิษย์ของท่าน คือ พระครูสอน ได้สร้างขึ้นที่วัดมักกะสันในช่วงสงครามอินโดจีนด้วย โดยเนื้อพระจะเป็นแบบทองเหลือง ต่างกับพระชัยวัฒน์ของพระพุฒาจารย์ (มา) ที่เนื้อจะออกทองแดง

"พระชัยวัฒน์ พิมพ์คอหนอก" พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดราบ ประทับบนฐานบัวตุ่มสองชั้น องค์พระจะแลดูป้อมๆ เส้นสังฆาฏิใหญ่พาดยาว พระพักตร์ปรากฏรายละเอียดของพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พิมพ์ป้อมเล็ก ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม พระพิมพ์นี้จะมีลักษณะคล้ายกันกับพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญเล็กน้อย

อีกทั้งพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามาจะปรากฏรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า

วัตถุมงคล "พระชัยวัฒน์" พระพุฒาจารย์ (มา) วัดสามปลื้ม กรุงเทพฯ "พิมพ์หน้าครุฑ" พุทธลักษณะจะคล้ายกับพระชัยวัฒน์คอหนอก แต่ว่าองค์พระพิมพ์นี้จะยืดออก พระพักตร์จะแหงน พระนาสิกโด่งดั่งพญาครุฑ จนทำให้เกิดการเรียกขานชื่อพิมพ์ตามพระพักตร์ว่า "พิมพ์หน้าครุฑ" องค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดราบ ประทับฐานบัวสองชั้น และมีฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ฐานแลดูสูงกว่าพระชัยวัฒน์พิมพ์คอหนอกเนื้อพระส่วนมากจะเป็นแบบเนื้อ โลหะผสมวรรณะเหลืองอมน้ำตาล

"พระชัยวัฒน์ พิมพ์หน้ากระบี่" พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดราบ ประทับบนฐานที่ติดชิดกับองค์พระมากที่สุด ลักษณะคล้ายกับการถอดแบบมาจากพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสน เช่นเดียวกันกับพระชัยวัฒน์ พิมพ์แม่ค้า เค้าพระพักตร์นั้นไม่ค่อยงดงามนัก แลดูคล้ายกับขุนกระบี่ (หนุมาน) จนทำให้เกิดการเรียกขานชื่อพิมพ์ตามพระพักตร์ว่า "พิมพ์หน้ากระบี่" เนื้อโลหะผสมวรรณะเหลืองคล้ำอมน้ำตาล หรือกระแสแดงแบบทองแดงเถื่อน

"พระชัยวัฒน์ พิมพ์ฐานเตี้ย หรือพิมพ์แม่ค้า" พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดราบ คล้ายกันกับพิมพ์ฐานสูง เพียงแต่ตัดส่วนฐานออกเท่านั้น องค์พระจึงมีขนาดเล็ก พระพิมพ์นี้ส่วนมากท่านจะแจกให้กับแม่ค้าและสุภาพสตรี พุทธคุณจึงเน้นหนักไปในด้านเมตตามหานิยม เนื้อพระจะเป็นแบบเนื้อโลหะผสมวรรณะเหลืองอมแดง

"พระชัยวัฒน์ ตระกูลสิงหเสนี" พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดเพชร บนฐานบัวเกลี้ยง เนื้อพระจะเป็นแบบเนื้อโลหะผสมลักษณะสำริดแก่เงินกลับดำ คล้ายกับเนื้อพระของพิมพ์ล้มลุก และเนื้อโลหะผสมอันประกอบไปด้วยตะกรุดโทน และแผ่นโลหะจารพระยันต์ต่างๆ มากมาย กระแสเนื้อโลหะจึงมีวรรณะเหลืองอมแดง พระชัยวัฒน์พิมพ์นี้ท่านได้สร้างให้กับ "ตระกูลสิงหเสนี" เพราะได้ช่วยเหลือในการปฏิสังขรณ์และอุปัฏฐากวัดมากเป็นเวลาช้านาน

"พระชัยวัฒน์ พิมพ์ฐานหกเหลี่ยม" พุทธลักษณะองค์พระปฏิมาประทับนั่งสมาธิแบบขัดเพชร บนฐานบัวตุ่มชั้นเดียว ฐานแต่งด้วยตะไบเป็นรูปหกเหลี่ยม เนื้อพระจะเป็นแบบเนื้อโลหะผสมลักษณะขันลงหิน ส่วนเนื้อกระแสโลหะผสมแก่เงิน และเนื้อสำริดก็มีปรากฏ แต่จะเป็นพระพิมพ์ต่างกันกับพระพิมพ์เนื้อทองผสม

นอกจาก "พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์" แล้ว เหรียญพระพุทธบาทเกาะสีชัง นับเป็นวัตถุมงคลที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (มา) ได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆ เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชกุศลอัญเชิญพระพุทธบาทจำลองจากเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย มาประดิษฐานที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี คือ 1.แบบมีหู เนื้อทองแดง และ 2.แบบไม่มีหู เนื้อดีบุก

เรื่องราคาเช่าหาบูชาไม่มี ที่ยุติ แต่ละพิมพ์แต่ละเนื้อนั้นต้องดูตามสภาพความสวย ความคม ที่สำคัญต้องเป็นของแท้ แต่ถ้าพูดถึงพุทธคุณดีครบทุกประการ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน ค้าขายเจริญรุ่งเรือง ที่แน่ๆ ใครที่ล้มแล้วฟื้นเร็ว
 

 
 
 
Copyright 2015
 
 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ทำเนียบวัตถุมงคล|คณะโหราจารย์ | คณะที่ปรึกษา | ดูดวงสด | คลิปรายการ | เรื่องเล่าจาก อ.สุชาติ | บทความทั่วไป | ติดต่อเรา

เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558

 เว็บนี้จัดทำโดยทีมงานครูกายแก้ว.com  (โดยได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก อ. สุชาติ รัตนสุข)