Copyright 2015

 
 

 
 
New Page 1
   ทำเนียบวัตถุมงคลทั้งหมด
   วัตถุมงคลมาใหม่ 
   (ของเก่า ของสะสม) 
   วัตถุมงคลมาใหม่
   (ของใหม่) 
** แนะนำวัตถุมงคล ** 

หมวดครูกายแก้ว

   องค์บูชา
   วัตถุมงคล
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย อ.สุชาติ รัตนสุข

   เทพเทวะ (องค์บูชา)
   เทพเทวะ (วัตถุมงคล)
   ฤาษี  มหาฤาษี
   เครื่องราง ของขลัง
   เครื่องประดับ
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย เกจิอาจารย์ชื่อดัง

   พระกริ่ง
   พระกรุ
   ผ้ายันต์
   108 เกจิอาจารย์ดัง ยุคอินโดจีน
   พระแชมป์
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดยเทวสถานอื่นๆ

   อื่นๆ
[เว็บอัพเดทเมื่อ: 31/12/2567]
 
Flag Counter
 
 

 

หลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม

  เมื่อ:  11/17/2016 12:28:10 PM    เปิดอ่าน: 1,161   
 
 
พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค โสภโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
 

 

ชื่อ             นาค
นามสกุล    มะเริงสิทธิ์
ชาติภูมิ      บ้านปราสาท ตำบลจันอัด (ตำบลเมืองปราสาท ในปัจจุบัน) อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ชาติกาล    วันศุกร์ ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๗ (ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๔๖) เวลา ๑๙:๑๐ น.
ทวด          หลวงเริง ต้นตระกูลมะเริงสิทธิ์ (เป็นตระกูลผู้มีอันจะกินตระกูลหนึ่งแห่งเมืองนครราชสีมา
ปู่ ย่า         ปู่ชื่อ ขุนประสิทธิ์ (อยู่) เป็นนายอากรเมืองโคราช
                 ย่าชื่อ ฉิม มะเริงสิทธิ์
ตา ยาย     ตาชื่อ พระวิเศษ (ทองศุข)
                 ยายชื่อ อิ่ม
บิดาชื่อ     นายป้อม  มะเริงสิทธิ์
มารดาชื่อ  นางสงวน  มะเริงสิทธิ์
ญาติพี่น้องร่วมบิดามารดา มี ๔ คน คือ
                ๑.พระเทพสิทธินายก (นาค  มะเริงสิทธิ์)
                ๒.พระภิกษุโชติ  มะเริงสิทธิ์
                ๓.นางทุเรียน  ปภาวดี
                ๔.นางอุดร  จุลรัษเฐียร

 

 

ชีวิตวัยเยาว์
        เป็นเด็กใฝ่แสวงหาความรู้ใส่ตัว เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูล ตั้งแต่สมัยบ้านเมืองยังไม่มีโรงเรียน เด็กผู้ชายสมันนั้นต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือ บิดามารดาพาท่านมาฝากเป็นเด็กวัด อยู่กับพระครูสังฆวิจารย์ (มี) ผู้เป็นลุง ที่วัดบึง ใกล้ประตูชุมพล นครราชสีมา ได้รับการอบรม อ่าน เขียน เรียนหนังสือทั้งภาษาไทย ภาษาขอม ภาษาบาลี อาศัยที่ท่านเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเล่าเรียนเก่ง ความทรงจำดี มีความประพฤติเรียบร้อยอาจารย์จึงแนะนำให้เดินทางเข้าศึกษาเล่าเรียนต่อในสำนักที่ดีๆ ในกรุงเทพฯ เพื่อความเจริญก้าวหน้าสืบไป


บรรพชา
        ประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๐ อายุได้ ๑๓ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบึง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระครูสังฆวิจารย์ (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์


เข้ากรุงเทพฯ
        เมื่อ บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยกองคาราวานวัวต่าง มีผู้ร่วมเดินทางประมาณ ๓๐ คน เดินทางจากโคราชรอนแรมมาเป็นเวลาแรมเดือน จวนจะถึงจังหวัดสระบุรี ท่านเห็นกุลี (กรรมกร) จำนวนมากกำลังกรุยทางเพื่อสร้างทางรถไฟไปนคราชสีมา พอถึงเมืองสระบุรีท่านรู้สึกไม่ค่อยสบาย บิดาจึงพาแยกออกจากกองคาราวาน ฝากตัวเป็นลูกศิษย์อยู่กับพระภิกษุรูปหนึ่งมีศักดิ์เป็นน้าที่วัดทองพุ่มพวง สระบุรี หลวงน้าช่วยอุปการะอยู่ที่วัดเป็นเวลานานหลายเดือนระหว่างนั้นท่านได้ศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมต่อไปด้วย โดยมิได้ลดละความตั้งใจที่จะเดินทางเข้าศึกษาธรรมะบาลีในกรุงเทพฯ ให้ได้ในโอกาสหน้า ในที่สุดพระน้าชายก็ได้นำสามเณรนาคเดินทางเข้าถึงกรุงเทพฯ โดยนำไปฝากไว้กับพระอาจารยเลื่อม พระลูกวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งกุฎิของท่านอยู่หน้าวัดใกล้ปากคลอง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนสตรีวัดระฆัง)
        พระอาจารย์เลื่อม เป็นพระหลวงตาที่ชราภาพมาก แต่เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีลูกศิษย์มาก ท่านเป็นปรมาจารย์ในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านได้พร่ำสอนสามเณรนาคด้วยความรักและเอ็นดู สามเณรนาคเองก็เป็นคนว่านอนสอนง่าย ยุคนั้นวัดระฆังโฆสิตารามมี พระธรรมไตรโลกาจารย์ ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (มร.ว.เจริญ  อิศรางกูร  ณ  อยุธยา) เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด สมเด็จองค์นี้เป็นศิษย์เอกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหมฺรํสี) พระธรรมไตรโลกาจารย์มองเห็นว่า ต่อไปภายหน้าสามเณรนาคจะสร้างเกียรติประวัติดีเด่นเป็นเอกในสำนัก ทั้งการปริยัติคือการเล่าเรียนภาษาไทย ภาษาบาลี และการปฏิบัติในทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงรับสามเณรนาคไว้ในอุปการะ
        บ้านเมืองในสมันนั้น ฝั่งกรุงเทพฯ กับฝั่งกรุงธนบุรี แม้ห่างกันเพียงแค่แม่น้ำเจ้าพระยากั้นเท่านั้น แต่ก็มีความเจริญแตกต่างกัน กรุงเทพฯ เมืองหลวงใหม่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่วัดระฆังฯ ที่อยู่ฝั่งธนบุรีเมืองหลวงเก่า กลับดูเป็นเหมือนว่าอยู่ห่างไกลความเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดระฆังฯ นั้น มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล รายล้อมด้วยเรือกสวนไร่นา เป็นดินแดนแห่งความสงบวิเวกวังเวง เหมาะสมเป็นที่ประพฤติพรตพรหมจรรย์ของพระสงฆ์องค์เจ้าผู้เคร่งครัดพระธรรมวินัยและใฝ่ปฏิบัติ


การศึกษา
        หลวงปู่นาค เล่าว่า “พระอาจารย์นวล เป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลี เดิมทีจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ แต่ได้ข้าวฝากมาสอนบาลีอยู่ที่วัดระฆังฯ และได้เป็นอาจารย์สอนบาลีหลวงปู่ด้วย”

    พ.ศ.๒๔๔๒
        สามเณรนาค อายุได้ ๑๕ ปี ได้เล่าเรียนภาษาบาลีมีความรู้ถึงขั้นเข้าแปล บาลีเปรียญธรรม ๓ ประโยคเป็นครั้งแรกต่อหน้าพระที่นั่ง โดยมีพระเถรานุเถระทรงสมณศักดิ์หลายรูปเป็นกรรมการฝ่ายสงฆ์ ผลปรากฏว่าสามเณรนาคสอบแปลด้วยปากได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้รับพระราชทานไทยธรรมเครื่องอัฏฐบริขาร จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

    พ.ศ.๒๔๔๘
        สามเณรนาคมิได้หยุดยั้งความตั้งใจ พยายามศึกษาเล่าเรียนต่อและได้เข้าสอบแปลประโยคบาลีต่อหน้าพระที่นั่งอีกครั้งหนึ่ง ผลปรากฏว่าสอบไล่ได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค โดยการแปลด้วยปาก ซึ่งเป็นการยากสำหรับยุคนั้น แต่ละครั้งที่เข้าสอบจะมีพระภิกษุสามเณรสอบได้เพียงไม่กี่รูป


อุปสมบท
    พ.ศ.๒๔๔๘
        พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ม.ว.ร.เจริญ  อิศรางกูล ณ อยุธยา) ผู้อุปการะสามเณรนาค เห็นว่ามีอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้แล้ว จึงจัดการนิมนต์พระมีสมณศักดิ์สูงมาเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ในพิธีการอุปสมบท ณ พระอุโสถวัดระฆังโฆษิตาราม โดยมี
        - สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์
        - สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
        - พระธรรมโกษาจารย์ (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอนุศาสวนาจารย์ (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช)
        สำหรับพระธรรมไตรโลกาจารย์ ได้เป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระอุปัชฌาย์ให้นามฉายาพระมหานาคว่า “โสภโณ”

พ.ศ.๒๔๔๙
        พระมหานาค  โสภโณ เข้าสอบแปลเปรียญธรรม๕ ประโยคได้ แต่ไม่ได้เข้าสอบเปรียญธรรมต่อถึงประโยค ๖ ทั้งนี้เพราะเหตุที่ท่านมีภารกิจเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดถวายงานวัดให้เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ เจ้าอาวาส


เรียนวิปัสสนา
        ในระหว่างที่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมบาลีอยู่นั้น ท่านได้หาเวลาไปศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฏฐานเพิ่มเติมกับพระอาจารย์ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) และได้ลงมือปฏิบัติจิตภาวนาอย่างเคร่งครัด โดยเพียรพยายามศึกษาและฝึกปฏิบัติอยู่นานถึง ๑๐ ปี ก็สามารถทำมูลกัมมัฏฐานเป็นฌานวิปัสสนาสามารถส่งกระแสจิตได้ ดังมีเรื่องเล่าว่า ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ในครั้งหนึ่งมีลูกโยคีมาฝึกทำวิปัสสนา จนสามารถถอดวิญญาณดูนรกสวรรค์ และท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ได้ เป็นเวลานานถึง ๒ วัน ก็ยังไม่คืนสติ ยังคงนั่งสมาธิอยู่เช่นนั้น
        ท่านเจ้าประคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการฝึกสอนอยู่ จึงได้นั่งสมาธิส่งกระแสจิตไปตามวิญญาณของลูกโยคีผู้นั้น แล้วไปพบอยู่ที่สุสานวัดดอน เขตยานนาวา ปรากฏว่า เห็นกำลังเที่ยวเพลิดเพลินอยู่ ท่านจึงส่งกระแสจิตเตือนวิญญาณนั้น ให้กลับคืนร่างตามเดิม เพราะล่วงมา ๒-๓ วันแล้ว ถ้าหากล่าช้าจะคืนเข้าร่างเดิมไม่ได้ เพราะร่างกายอาจเปื่อยเน่าเสียก่อน วิญญาณของลูกโยคีผู้นั้นจึงได้สติ แล้วกลับคืนเข้าร่างตามเดิม ณ ที่นั่งสมาธิอยู่ในศาลาวัดระฆังฯ
        นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า คุณโยมของท่านป่วยหนักอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยมิได้ส่งข่าวคราวถึงท่าน แต่ท่านก็สามารถหยั่งรู้ได้ในสมาธิ แล้วนำหยูกยาไปรักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้องเพราะท่านใช้กระแสจิตในทางวิปัสสนาเป็นตัวกำหนดจิตทำให้เกิดเป็นพลังขึ้นมา เป็นเหตุให้ท่านคิดสร้าง พระสมเด็จ ปี พ.ศ.๒๔๘๔ ขึ้นมา โดยอาศัยตำราของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหมฺรํสี) ระหว่างนั้นเป็นเวลาที่บ้านเมืองเกิดสงครามเอเชียบูรพาอยู่ ท่านจึงได้แจกจ่ายพระสมเด็จดังกล่าวให้ทหารติดตัวไปในสมรภูมิ เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่ทหารอีกส่วนหนึ่งด้วย พระสมเด็จที่หลวงปู่นาคท่านได้จัดสร้างขึ้นครั้งนั้น และที่สร้างขึ้นในรุ่นต่อๆ มา ปรากฏว่า ได้ก่ออภินิหารคงกระพันชาตรี มีพลังทางเมตตามหานิยม มีเกียรติคุณเป็นเยี่ยมในวงการพระเครื่อง ตลอดมาตราบเท่าทุกวันนี้


หน้าที่การงาน
    พ.ศ.๒๔๖๗
        - เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม
    
    พ.ศ.๒๔๖๘
        - เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดระฆังโฆษิตาราม


เกียรติคุณ
    - เป็นพระปฏิบัติเคร่งครัดพระธรรมวินัย
    - เป็นพระวิปัสสนาจารย์มีจิตใจสงบเป็นสมาธิ สามารถเข้าวิปัสสนาถึงขั้นถอดจิตได้
    - สร้างวัตถุมงคล พระผงสูตรสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต  พฺรหมฺรํสี) มากมายหลายรุ่น
    - นามท่านชาวบ้านเรียกขานติดปากว่า “หลวงปู่นาค” วัดระฆังฯ ตราบเท่าถึงทุกวันนี้


สมณศักดิ์
    พ.ศ.๒๔๖๔
        - ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระธรรมกิติ

    พ.ศ.๒๔..
        - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชโมฬี

    พ.ศ.๒๔๗๔
        - ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิทธินายก


มรณภาพ
    ท่ารมรณภาพด้วยโรคชรา ที่โรงพยาบาลศิริราช จังหวัดธรบุรี เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๔ เวลา ๐๔:๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี อยู่ในสมณเพศ ๗๕ ปี เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตาราม อยู่ ๔๗ ปี นับว่าเป็นเจ้าอาวาสที่ครองวัดนานที่สุดองค์หนึ่ง

 
หลวงปู่นาค  วัดระฆัง  108 เกจิอาจารย์อินโดจีน 
 
ท่านครูผึ้ง
เมื่อ:  1/1/2016 6:32:00 PM    เปิดอ่าน: 4,028    ความเห็น: 0
 
 
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
เมื่อ:  1/1/2016 6:04:00 PM    เปิดอ่าน: 859    ความเห็น: 0
 

 
 
 
Copyright 2015
 
 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ทำเนียบวัตถุมงคล|คณะโหราจารย์ | คณะที่ปรึกษา | ดูดวงสด | คลิปรายการ | เรื่องเล่าจาก อ.สุชาติ | บทความทั่วไป | ติดต่อเรา

เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558

 เว็บนี้จัดทำโดยทีมงานครูกายแก้ว.com  (โดยได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก อ. สุชาติ รัตนสุข)