Copyright 2015

 
 

 
 
New Page 1
   ทำเนียบวัตถุมงคลทั้งหมด
   วัตถุมงคลมาใหม่ 
   (ของเก่า ของสะสม) 
   วัตถุมงคลมาใหม่
   (ของใหม่) 
** แนะนำวัตถุมงคล ** 

หมวดครูกายแก้ว

   องค์บูชา
   วัตถุมงคล
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย อ.สุชาติ รัตนสุข

   เทพเทวะ (องค์บูชา)
   เทพเทวะ (วัตถุมงคล)
   ฤาษี  มหาฤาษี
   เครื่องราง ของขลัง
   เครื่องประดับ
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย เกจิอาจารย์ชื่อดัง

   พระกริ่ง
   พระกรุ
   ผ้ายันต์
   108 เกจิอาจารย์ดัง ยุคอินโดจีน
   พระแชมป์
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดยเทวสถานอื่นๆ

   อื่นๆ
[เว็บอัพเดทเมื่อ: 31/12/2567]
 
Flag Counter
 
 

 

สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ตอนที่ ๑)

  เมื่อ:  1/8/2016 8:18:01 PM    เปิดอ่าน: 1,387   
 
 
รายพระนามสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 

 

ประวัติสมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย

สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทในประเทศไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น สกลมหาสังฆปรินายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย คามวาสี เป็นสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปรินายก ๒ องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย ขวา ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า สมเด็จพระอริยวงศ์ เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้ มีสุพรรณบัตรจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง ๒ องค์ แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกองค์ จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปรินายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นสมเด็จทุกองค์ เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในราชวงศ์ออกไปครอง ทำนองเจ้าประเทศราช เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีสังฆราชองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฎเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็นสังฆปาโมกข์

พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เรียกว่า คามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่า อรัญวาสี ภิกษุ แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า สมเด็จพระราชาคณะ

แบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ของไทย เริ่มจัดวางหลักตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีการพัฒนาเพิ่มเติมใน สมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยมาตามลำดับ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ การปกครองคณะสงฆ์ก็ยังจัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบดังนี้

สกลสังฆปรินายก ได้แก่สมเด็จพระสังฆราช
มหาสังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะใหญ่ สังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะรอง มหาสังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะมณฑล
สังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะ
สังฆวาห ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระครู

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามพระบรม ราชวงค์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร ๕ ชั้น พระราชวงค์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฎ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตร ๕ ชั้น

ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้บัญญัติถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ว่า ในกรณีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนาม สมเด็จพระราชาคณะ ที่มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เพื่อปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ ๔ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนำกราบถวายบังคมทูล ให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย และจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป

รายพระนามสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มี ๑๙ องค์ ดังต่อไปนี้

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 1 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พ.ศ.2325 - พ.ศ.2337 วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 2 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) พ.ศ.2337 - พ.ศ. 2359 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 3 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) พ.ศ.2359 - พ.ศ.2362 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พ.ศ.2363 - พ.ศ.2365 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 5 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) พ.ศ.2365 - พ.ศ.2385 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 6 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) พ.ศ.2386 - พ.ศ.2392 วัดราชบูรณะราชวรวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 7 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวัณณรังสี) พ.ศ.2394 - พ.ศ. 2396 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 8 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺคโต) พ.ศ.2434 - พ.ศ. 2435 วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 9 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) พ.ศ.2436 - พ.ศ. 2442 วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

 

 

สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 10 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ) พ.ศ.2443 - พ.ศ. 2464 วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

 

 
ที่มา:  www.dhammathai.org, www.dmc.tv
 
สมเด็จพระสังฆราช  ประวัติ  พระนามสมเด็จพระสังฆราช 
 
ข้อคิดดีมาก..ในวันไว้ทุกข์แด่สมเด็จพระสังฆราช
เมื่อ:  1/1/2016 4:47:00 PM    เปิดอ่าน: 856    ความเห็น: 0
 
 
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่! เลสเตอร์ นิมนต์พระให้พรก่อนปราบผี (อีกครั้ง)
เมื่อ:  11/26/2016 2:47:00 PM    เปิดอ่าน: 788    ความเห็น: 0
 

 
 
 
Copyright 2015
 
 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ทำเนียบวัตถุมงคล|คณะโหราจารย์ | คณะที่ปรึกษา | ดูดวงสด | คลิปรายการ | เรื่องเล่าจาก อ.สุชาติ | บทความทั่วไป | ติดต่อเรา

เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558

 เว็บนี้จัดทำโดยทีมงานครูกายแก้ว.com  (โดยได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก อ. สุชาติ รัตนสุข)