Copyright 2015

 
 

 
 
New Page 1
   ทำเนียบวัตถุมงคลทั้งหมด
   วัตถุมงคลมาใหม่ 
   (ของเก่า ของสะสม) 
   วัตถุมงคลมาใหม่
   (ของใหม่) 
** แนะนำวัตถุมงคล ** 

หมวดครูกายแก้ว

   องค์บูชา
   วัตถุมงคล
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย อ.สุชาติ รัตนสุข

   เทพเทวะ (องค์บูชา)
   เทพเทวะ (วัตถุมงคล)
   ฤาษี  มหาฤาษี
   เครื่องราง ของขลัง
   เครื่องประดับ
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดย เกจิอาจารย์ชื่อดัง

   พระกริ่ง
   พระกรุ
   ผ้ายันต์
   108 เกจิอาจารย์ดัง ยุคอินโดจีน
   พระแชมป์
   อื่นๆ

วัตถุมงคลโดยเทวสถานอื่นๆ

   อื่นๆ
[เว็บอัพเดทเมื่อ: 4/8/2563]
 
Flag Counter
 
 

 

พระพิฆเนศ มหาเทพแห่งศาสตร์และศิลป์

  เมื่อ:  12/31/2015 10:58:22 AM    เปิดอ่าน: 2,272   
 
 
พระพิฆเนศ มหาเทพแห่งศาสตร์และศิลป์
 

พระพิฆเนศ

มหาเทพแห่งศาสตร์และศิลป์

พระพิฆเนศวร หรือ พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระวิฆเณศวร หรือ พระพิฆเณศวร์ หรือ พระคเณศ หรือ คณปติ ฯลฯ เป็นเทพในศาสนาพราหมณ์ นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)

พระพิฆเนศวร เป็นโอรสของพระศิวะ และ พระอุมาเทวี มีรูปกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือพระพิฆเนศในฐานะที่เป็น “วิฆเนศ” นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเป็นเจ้าแห่งอุปสรรค ที่สามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และอีกความหมายหนึ่งคือ ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่ง หรือ เทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ รูปกายที่อ้วนพีนั้นมีความหมายว่า ความอุดมสมบูรณ์ เศียรที่เป็นช้างหมายถึง ผู้มีปัญญามาก ตาที่เล็กคือ สามารถมองแยกแยะสิ่งถูกผิด หูและจมูกที่ใหญ่หมายถึง มีสัมผัสพิจารณาที่ดีเลิศ พระพิฆเนศวรมีพาหนะคือ หนู ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิดที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว คนไทยผู้นิยมบูชาองค์มหาเทพ หรือสนใจศึกษาทางด้าน “เทพปกรณัม” คงรู้จักพระนามมหาเทพองค์นี้เป็นอย่างดี ในนามของพระพิฆเนศ, พระพิฆเนศวร, ศรีคเณศ, พระคณปติ เป็นต้น ที่มหาชนนิยมเรียกขานด้วยความเคารพศรัทธา พระพิฆเนศ (Ganesa) จึงเป็นเทพเจ้าสากลที่มีผู้นับถือมากที่สุดองค์หนึ่งในโลก เป็นมหาเทพผู้ทรงภูมิปัญญายิ่งใหญ่ ผู้ขจัดอุปสรรคและอำนวยความสำเร็จในทุกสิ่ง มีปรีชาญาณเฉลียวฉลาดเป็นอย่างยิ่ง

ลักษณะของพระพิฆเนศวร

พระพิฆเนศ มีรูปกายเป็นมนุษย์อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว (ถูกขวานปรศุรามหักเสียงา) สีกายสีแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง) มีสี่กร พระหัตถ์หลังขวาถือตรี พระหัตถ์ซ้ายถือบาศ (บ่วง) พาหนะคือ หนู

ในคราวที่พระศิวะเทพทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานนั้น พระแม่ปารวตีจึงต้องอยู่องค์เดียวโดยลำพัง จึงทรงเกิดความเหงาและประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอกที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนักใน จึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวเทพเสด็จออกไปตามภารกิจต่างๆ มีอยู่คราวหนึ่งเมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงน้ำในพระตำหนักด้านในนั้น องค์ศิวเทพได้กลับมาและเมื่อจะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกันศิวเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา เมื่อพระองค์ถูกขัดขวางก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้ พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตามบัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง  จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจและศรีษะก็ถูกตัดหายไป

ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาล ก็เสด็จออกมาด้านนอกและถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ จากนั้นเมื่อทรงได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูรและตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ มหาเทพก็ทรงตรัสว่า จะทำให้เด็กนั้นกลับฟื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่งกระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วก็จะไม่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้ เมื่อเห็นเช่นนั้นพระศิวะจึงบัญชาให้เทพที่มาช่วยเอาศีรษะสิ่งมีชีวิตแรกที่พบเห็นมา และปรากฏว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาให้ ซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อแทนให้ และได้ชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่องให้เป็นเทพที่สูงที่สุด โดยขนานนามว่า พระพิฆเนศ ซึ่งแปลว่า เทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรค

พระพิฆเนศ

เทพแห่งความสำเร็จสมปรารถนา

                พระพิฆเนศ เทพแห่งความสำเร็จสมปรารถนา สมหวังในชีวิต หน้าที่การงาน สติปัญญา โชคลาภ รวมทั้งขจัดปัญหาอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงจึงทำให้มีผู้คนทุกสาขาอาชีพให้ความเคารพนับถือ และสักการบูชาพระพิฆเนศกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเหล่าดาราศิลปิน หรือผู้ประกอบอาชีพทางศิลปะการแสดง ทั้งชาวอินเดียและชาวเอเชียเกือบทุกประเทศ พระพิฆเนศ จึงเป็นเทพที่มีการสร้างรูปเคารพมากที่สุด มากกว่าเทพองค์อื่นๆ ที่ชาวโลกรู้จัก

                พระพิฆเนศ มีรูปลักษณ์ที่แปลกแตกต่างไปจากเทพองค์อื่นๆ เพราะมีเศียรเป็นช้าง ลำตัวเป็นคนอ้วนพุงพลุ้ย มีหลายพระกร แต่ละพระกรถือสิ่งของต่างๆ ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ล้วนสื่อความหมายในทางที่ดีงามทั้งสิ้น กำเนิดของพระพิฆเนศมีความเป็นมาแตกต่างกันหลายกระแสหลายแง่มุม รวมทั้งปางของพระพิฆเนศก็มีมากมาย ตำราส่วนใหญ่บอกว่าพระพิฆเนศมีทั้งหมด 32 ปาง แต่ในปัจจุบันมีมากกว่านั้น ตามแต่จินตนาการของศิลปินผู้ปั้นแต่ง ซึ่งมีหลายเชื้อชาติ รวมทั้งศิลปินในเมืองไทย ก็มีการออกแบบแตกต่างกันไปมากมายหลากหลายรูปแบบ

                วันสำคัญในการบูชาพระพิฆเนศที่ยึดถือกันมาช้านานคือ วันแรม 4 ค่ำ เดือน 9 และวันแรม 4 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเป็นวันกำเนิดของพระพิฆเนศ หรือที่เรียกว่า “วันจตุรถี” แต่การบูชาโดยทั่วๆ ไปนั้น บางคนจะทำกันในวันอังคาร เพราะว่าพระพิฆเนศเป็นเทพประจำวันอังคาร เชื่อกันว่า ท่านจะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อรับทราบเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้ศรัทธาเลื่อมใส แต่บางคนเห็นว่า ท่านเป็น “ครู” จึงบูชาในวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็น “วันครู” ก็ไม่ได้ผิดกติกาใดๆ และหากเป็นไปได้ ควรจะบูชาทุกวันก็จะเป็นสิริมงคลยิ่ง

                ของถวาย คือ ขนมโมทกะ, ขนมลาดูป, ขนมหวานต่างๆ, ขนมต้มแดง ต้มขาว, กล้วยที่สุกแล้ว หรือผลไม้อื่นๆ ที่สุกแล้ว มะพร้าว, อ้อย, หญ้าแพรก, นมสด, น้ำหวานสีแดง และดกไม้สีสด ฯลฯ

                คาถาบูชา มีมากมายหลายบท แต่บทที่สั้นๆ และนิยมกันมากที่สุด คือ “โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา”

                พระพิฆเนศ เป็นเทพ 1 ใน 5 ที่ชาวฮินดูให้ความเคารพบูชา ได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม พระแม่อุมาเทวี และ พระพิฆเนศ ซึ่งทุกพระองค์ที่กล่าวนามมา คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู รวมถึงพิธีกรรมของพราหมณ์อยู่คู่กับชาวไทยมาช้านาน คนไทยจึงให้ความเคารพศรัทธากันอย่างมากมาย โดยเฉพาะ พระพิฆเนศ  พระคเณศ  หรือ พระคณปติ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ เทพผู้ขจัดปัญหาอุปสรรค เทพเจ้าแห่งพร 5 ประการ คือ 1.ความรู้ 2.ความมั่นคง 3.สติปัญญา 4.ความสำเร็จ 5.การศึกษา

                พระพิฆเนศ เป็นเทพเจ้าที่ชาวฮินดูและชาติอื่นๆ รวมทั้งชาวไทยเราให้ความศรัทธา และบูชากันแพร่หลายมากที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในสาขาอาชีพอะไรก็ตาม มีทั้งหมด 32 ปาง แต่ละปางต่างมีความหมาย ความสำคัญ และความเหมาะสมกับสาขาอาชีพที่แตกต่างกันไป

                พระพิฆเนศ ได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าที่พร้อมจะช่วยเหลือ และรับฟังความทุกข์ร้อนของมนุษย์ทุกคน ทุกเวลา และเปรียบดังเทพผู้รักษาปกป้องคุ้มครอง แม้แต่พระศิวะ พระบิดาของพระองค์ ยังตรัสว่า “ไม่ว่าจะทำการสิ่งใด หรือทำพิธีบูชาใด ให้ทำการบูชาพระพิฆเนศก่อนกระทำการทั้งปวง ผู้ใดต้องการความสำเร็จ ผ่านพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเนศ”

                ในประเทศไทย มีการบูชาเทพองค์ต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์มากมาย รวมทั้งองค์ พระพิฆเนศ ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ซึ่งจะพบเห็นรูปสลักพระพิฆเนศในเทวสถานตามเมืองต่างๆ ทั่วทั้งประเทศไทย โดยมีหลักฐานการค้นพบองค์เทวรูปบูชาพระพิฆเนศที่เก่าแก่ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจ ในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น องค์พระพิฆเนศสลักจากหิน ซึ่งค้นพบที่จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ และพระพิฆเนศที่เก่าแก่อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่ศาลหลักเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ฯลฯ

                คนไทยถือว่าองค์พระพิฆเนศวรเป็นที่เคารพสักการะในฐานะเป็นองค์บรมครูแห่ง ศิลปะวิทยาการ 18 ประการ ซึ่งคนไทยยอมรับในองค์พระพิฆเนศวรให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศวร เป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใดๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการ เช่น กรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ถือเอาพระพิฆเนศวรเป็นสัญลักษณ์ของทางสถาบัน

 
ที่มา:  หนังสือ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศวร คเณศจตุรถี โดยอาจารย์ทศพล จังพานิชย์กุล
 
พระพิฆเนศ  พระพิฆเนศวร  Ganesa  พระคเณศ 
 
ประวัติพระฤๅษีร้อยแปด
เมื่อ:  1/1/2016 2:45:00 PM    เปิดอ่าน: 13,029    ความเห็น: 0
 
 
รายนามพระฤๅษี ๑๐๘
เมื่อ:  1/1/2016 2:43:00 PM    เปิดอ่าน: 12,509    ความเห็น: 0
 

 
 
 
Copyright 2015
 
 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ทำเนียบวัตถุมงคล|คณะโหราจารย์ | คณะที่ปรึกษา | ดูดวงสด | คลิปรายการ | เรื่องเล่าจาก อ.สุชาติ | บทความทั่วไป | ติดต่อเรา

เริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2558

 เว็บนี้จัดทำโดยทีมงานครูกายแก้ว.com  (โดยได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจาก อ. สุชาติ รัตนสุข)